http://krupawana.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ17/03/2010
อัพเดท19/03/2023
ผู้เข้าชม1,195,657
เปิดเพจ2,065,201

อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

อยากให้อ่านตรงนี้ก่อน

กำเนิดของเศรษฐกิจพอเพียง

พ่อหลวงในดวงใจของฉัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน

วิธีทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพในครัวเรือนสูตรชีวภาพ

ทำการเกษตรวิธีอินทรีย์ชีวภาพดีกว่าใช้สารเคมี

การพึ่งพาภูมิปัญญาอย่างพอเพียง

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
iGetWeb.com
AdsOne.com

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ(EM)

 
คุณรู้จักจุลินทรีย์ดีพอหรือยัง? 
     จุลินทรีย์ (Micro organic)เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่พืชหรือสัตว์ มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ จุลินทรีย์จะอาศัยอยู่ทั่วทุกแห่งทั้งในธรรมชาติ ในร่างกายของมนุษย์ สัตว์หรือพืช ในที่แห้งก็มีจุลินทรีย์ แต่เรามักพบเห็นจุลินทรีย์ในที่ที่มีความชื้นมากกว่า เนื่องจากในที่แห้งมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ มันจึงพักตัวอยู่นิ่งๆเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีอาหาร แสง ความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะต่อการดำรงชีวิตก็จะเจริญเติบโตต่อไป  อาหารของจุลินทรีย์คืออินทรียวัตถุ จึงเรียกกิจกรรมของจุลินทรีย์นี้อีกอย่างหนึ่งว่า
“กระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ” มันขยายพันธุ์ด้วยการแบ่งเซลล์แบบทวีคูณ จาก1เป็น2 จาก2เป็น4 จาก4เป็น 8 ต่อไปเรื่อยๆ จึงเพิ่มปริมาณได้รวดเร็วมาก จุลินทรีย์ที่เราคุ้นเคย เช่น แบคทีเรีย(Becteria) ไวรัส(virus) ยีสต์(Yeast)และ รา(Fungi)
      จากการศึกษาค้นคว้าของศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิงะ (Dr.Teruo Higa) นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น พบว่าจุลินทรีย์แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่  คือ
         1. จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ"(Effective Microorganism) ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อย่อว่าEM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์หรือทำให้เกิดผลดีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ลดหรือยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์กลุ่มทำลาย ช่วยขจัดกลิ่นเน่าเหม็น และทำให้เกิดอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น โยเกิร์ต ขนมปัง ซาลาเปา ฯลฯ ซึ่งโดยทั่วไปในสิ่งแวดล้อมสภาพปกติจะมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ประมาณ 10 %
         2. จุลินทรีย์กลุ่มทำลาย เป็็นจุลินทรีย์กลุ่มที่มีโทษหรือทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ทำให้เกิดโรคต่างๆในคน สัตว์ หรือพืช  ทำให้ของเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น หรือทำให้อาหารบูดเน่า โดยทั่วไปในสิ่งแวดล้อมสภาพปกติจะมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ประมาณ 10 %
         3. จุลินทรีย์กลุ่มเป็นกลาง ตามปกติจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะไม่มีคุณหรือโทษ โดยทั่วไปในสิ่งแวดล้อมสภาพปกติจะมีจุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ประมาณ 80 % แต่หากจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน 2 กลุ่มที่กล่าวมาแล้วมีปริมาณมากกว่าหรือมีความแข็งแรงกว่า จุลินทรย์กลุ่มนี้ก็จะเข้าร่วมสนับสนุนการทำกิจกรรมของจุลินทรีย์กลุ่มนั้นด้วย จุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงเป็นตัวที่เสริมให้จุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นโทษมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

       เมื่อรู้อย่างนี้แล้วคุณต้องการให้ในตัวคุณหรือรอบๆตัวคุณมีจุลินทรีย์ชนิดใดอยู่มากๆล่ะ ?
คำตอบก็คงเป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ แน่นอน ฉะนั้นมารู้จักกันหน่อยจะดีมั๊ย

 

     จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์,จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ(Effective Microorganism) 

         จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ หรือเรียกอีกอย่างว่าจุลินทรีย์กลุ่มประสิทธิภาพ(ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อย่อว่าEM) เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 กลุ่มย่อย ดังนี้

      1. กลุ่มจุลินทรีย์พวกที่สร้างกรดแลคติก(Lactic acid microorganism)  มีคุณสมบัติ ดังนี้ 
           - เป็นจุลินทรีย์กลุ่มดีที่จะช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มทำลายที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆในสิ่งมีชีวิต 
           - มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ 
           - หากคนหรือสัตว์ได้รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของจุลินทรีย์กลุ่มนี้เข้าไป(เช่น จุลินทรีย์
แลคโตบาซิลัส ที่อยู่ในอาหารพวกนมเปรี้ยว โยเกิร์ต)จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารได้  
           - ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการอากาศหายใจจึงสามารถมีชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้ดี
ในที่ที่ไม่มีอากาศ   
           - สามารถช่วยเปลี่ยนสภาพดินที่มีเชื้อโรคให้เป็นดินที่มีความสามารถต้านทานโรคได้ 
           - กรดแลคติกที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นมานั้นจะช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพืชที่หนาและแข็งให้อ่อนนุ่มลง ทำให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วขึ้น ต้นกล้าพืชจะแข็งแรงขึ้น  
          
จุลินทรีย์กลุ่มนี้  เช่น แบคทีเรียแลคโตบาซิลัส (Lactic acid Becteria) ที่อยู่ในนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต 
               
      2.กลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย(filamentous fungi) จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีคุณสมบัติ ดังนี้ 
           - ทำกิจกรรมได้ดีในสภาพที่มีก๊าซออกซิเจนและมีคุณสมบัติทนความร้อน  
           - เป็นตัวเร่งการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ จึงนิยมใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก ทำหัวเชื้อผลิตสุรา 
           - ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโนแป้งและน้ำตาล ปกติใช้ในการหมักเหล้าสาเกและถั่วเหลือง    
          จุลินทรีย์กลุ่มนี้ เช่น Fermentative Fungi จุลินทรีย์ที่อยู่ในแป้งข้าวหมาก หรือยีสต์(Yeasts)
ที่ใช้หมักไวน์
 

       3. กลุ่มจุลินทรีย์พวกที่สังเคราะห์แสง(photosynthetic microorganism) จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีคุณสมบัติ ดังนี้
          - ช่วยย่อยสลายสารที่เป็นอันตราย และ สังเคราะห์สารแอนติออกซิแดนท์
          - สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน  จึงมีคุณสมบัติช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน 
        จุลินทรีย์กลุ่มนี้ เช่น Photosynthetic Becteria 

      4. กลุ่มจุลินทรีย์พวกที่ใช้ในการหมัก(fermentedmicroorganism) จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีคุณสมบัติดังนี้  
         - กระตุ้นให้ดินสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค 
         - ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้กลายเป็นฮิวมัส(ฮิวมัสเป็นอาหารของพืช) 
         - ช่วยป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช   
         - ช่วยบำบัดน้ำเสีย ช่วยลดมลพิษและขจัดกลิ่นเหม็นในน้ำเน่าเสีย
       จุลินทรีย์กลุ่มนี้ เช่น Actinomycetes มีคุณสมบัติเป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและยับยั้งเชื้อโรค พบมากในปุ๋ยหมักและดินที่มีความอุดมสมบูรณ์

       5. กลุ่มจุลินทรีย์พวกที่ตรึงไนโตรเจน(nitrogen fixing microorganism) จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดินและกระตุ้นให้ดินผลิตสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น โปรตีน วิตามิน แป้ง ฮอร์โมน กรดอินทรีย์ กรดไขมัน  ฯลฯ   
      จุลินทรีย์กลุ่มนี้ ได้แก่ สาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียกลุ่มไรโซเบียม (Rhizobium)
ที่อาศัยอยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ

เมื่อรู้ว่าจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ(Effective Microorganism) หรือ EM นั้น ดีต่อทั้งตัวคุณและโลกแล้วละก็      มาช่วยกันสนับสนุนให้มันเพิ่มปริมาณขึ้นเยอะๆก็จะเยี่ยมมากๆเลย

 

        จากภาพด้านบนเป็นหัวเชื้อEM ชนิดน้ำ ที่บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด ผลิตจำหน่ายในประเทศไทย  ข้างแกลลอนเขียนว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ขนาดบรรจุ 1 ลิตร ราคา ... บาท เวลาซื้อต้องดูว่ามีฟอยล์ปิดปากขวด ฟอยล์มีคำว่า อีเอ็ม คิวเซ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ฟอยล์ต้องไม่ชำรุดฉีกขาด และต้องดูวันหมดอายุด้วย เก็บได้นาน 1 ปี นับจากวันผลิต  (ครูป้าไม่ได้ค่าโฆษณาหรือสิทธิพิเศษใดๆทั้งสิ้นจากบริษัทนะคะ แต่จากที่เคยได้นำมาทดลองใช้เห็นว่ามีคุณสมบัติดีพอควร มีความน่าเชื่อถือ และใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ค่อนข้างหลากหลาย โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม การกำจัดกลิ่นเหม็น และการบำบัดน้ำเน่าเสีย) เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเพาะเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวเอง และสามารถนำมาขยายต่อเพิ่มปริมาณได้อีก

        
        
 

 

 

 

 

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view