http://krupawana.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ17/03/2010
อัพเดท19/03/2023
ผู้เข้าชม1,195,669
เปิดเพจ2,065,213

อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

อยากให้อ่านตรงนี้ก่อน

กำเนิดของเศรษฐกิจพอเพียง

พ่อหลวงในดวงใจของฉัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน

วิธีทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพในครัวเรือนสูตรชีวภาพ

ทำการเกษตรวิธีอินทรีย์ชีวภาพดีกว่าใช้สารเคมี

การพึ่งพาภูมิปัญญาอย่างพอเพียง

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
iGetWeb.com
AdsOne.com

คุณเข้าใจความหมายที่แท้จริงเศรษฐกิจพอเพียงดีพอแล้วหรือยัง


          ก่อนที่คุณจะน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตนั้น 
ลำดับแรกคุณต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริงของเศรษฐกิจพอเพียงว่าคืออะไร

ที่มาของเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักกรี กษัตริย์ผู้เปี่ยมไปด้วยทศพิศราชธรรม
ทรงมีพระราชดำรัสแก่ปวงชนชาวไทยเพื่อให้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2517 เป็นต้นมา และพระองค์ได้มีพระราชดำรัสถึงเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2541
เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติสำหรับทุกคนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง มีใจความ 
ดังนี้

“...ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน
คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน  ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา 
เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอสมควรแล้ว  จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
...การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัด
นั้นก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์...”

( พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 )


“สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน สมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อที่จะให้ทุกคนมีความพอเพียงได้ ”


“ให้พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา ก็ได้ แต่ว่าพอ
แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ”


“เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือ ไม่ต้องทั้งหมด แม้นจะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ
ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนามาช้านานแล้ว  มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก
แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่าถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่
แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ”


(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  4  ธันวาคม  พ.ศ. 2541)
 
 

      แต่มีหลายคนยังเข้าใจไขว้เขว คิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือการทำเกษตรทฤษีใหม่ และคิดว่าการเกษตรทฤษีใหม่ คือเศรษฐกิจพอเพียง 
แท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกองค์กร 
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติก็คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจของตนเอง ต่อไปถึงครอบครัว องค์กร หน่วยงาน ชุมชน ท้องถิ่น
ซึ่งจะส่งผลไปยังเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป 

  
       เศรษฐกิจพอเพียง  
                 เป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ในการผลิตและการบริโภคอย่างพออยู่พอกิน
     มีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
                 1 ความพอประมาณ
                 2 ความมีเหตุมีผล
                 3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

     มีเงื่อนไขสำคัญ 2  ประการ คือ
                1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
                2  เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน สติปัญญา และแบ่งปัน

          โดยรวมก็หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะของตนเอง ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพที่หลากหลาย อย่างมีคุณธรรมในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานขึ้นไป และพัฒนาขึ้นจากรากฐานของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และใช้ภูมิปัญญาของบรรพชนทั้งที่มีอยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงค้นหา คัดสรร และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆมาจากโลกภายนอก


       ส่วน"เกษตรทฤษีใหม่"นั้น เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการทำการเกษตรที่เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งพระองค์ทรงวินิจฉัยแล้วว่าการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้เป็นแนวทางที่เกษตรกรควรจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน และถ้าเกษตรกรคนใดได้นำวิธีการนี้ไปปรับใช้ในการทำอาชีพเกษตรกรรม (แม้เพียงบางส่วน ไม่ต้องทั้งหมด) ก็จะทำให้เกษตรกรคนนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ซึ่งนี่ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  

       
       

 

 

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view