http://krupawana.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ17/03/2010
อัพเดท19/03/2023
ผู้เข้าชม1,200,678
เปิดเพจ2,070,742

อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

อยากให้อ่านตรงนี้ก่อน

กำเนิดของเศรษฐกิจพอเพียง

พ่อหลวงในดวงใจของฉัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้นในชีวิตประจำวัน

วิธีทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพในครัวเรือนสูตรชีวภาพ

ทำการเกษตรวิธีอินทรีย์ชีวภาพดีกว่าใช้สารเคมี

การพึ่งพาภูมิปัญญาอย่างพอเพียง

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
iGetWeb.com
AdsOne.com

พระราชดำรัสต้นแบบแห่งความพอเพียง

 

      

    หากท่านเข้าใจแก่นแห่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงท่านก็จะพบหนทางที่จะนำไปสู่ความพอเพียง    ที่แท้จริงได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นโปรดอ่านพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นต้นแบบแห่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะได้น้อมนำไปใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม

 •  พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2541  

“สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน สมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน
จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีความพอเพียงได้
ให้พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่า พอ”

“ให้พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ
แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ”

“เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือ ไม่ต้องทั้งหมด แม้นจะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ
ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนามาช้านานแล้ว มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก
แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และ ทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น
ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ” 
 
  •  พระราชดำรัสแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตตาลัย
วันที่ 4 ธันวาคม 2542

“คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย
เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
ถ้ามีความคิดอันนี้ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่า พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข” 

 •  พระราชดำรัส เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 23 ธันวาคม 2542

 “พอมีพอกินนี่ ได้พูดมาหลายปี สิบกว่าปีแล้ว ให้พอมีพอกิน
แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ
เมื่อปีที่แล้วบอกว่าถ้าพอมีพอกิน คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆพัฒนาขึ้นมา
ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือ ระหว่างจะเรียกว่า อำเภอ จังหวัด ประเทศ
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง
จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้”

“คนไม่เข้าใจว่า กิจการใหญ่ๆ เหมือนการสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน
เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง
แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน”

“ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ก็มีเป็นขั้นๆ
แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้
จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว
พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือให้สามารถที่จะดำเนินการได้”

“เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา
เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจก็หมายความว่า
เราก็สามารถที่จะคิดอะไรได้ จะถูกจะผิดก็ช่าง ถ้าเขาสนใจเขาก็จะสามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการ
เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกดีพัฒนาขึ้น”  

 

•  พระราชดำรัส เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2543

“เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ขอย้ำว่า เป็นทั้งเศรษฐกิจหรือความประพฤติ
ที่ทำอะไรเพื่อให้เกิดผลโดยมีเหตุและผล คือผลเกิดมาจากเหตุ
ถ้าทำเหตุที่ดี ถ้าคิดให้ดี ให้ผลดีออกมา คือสิ่งที่ติดตามเหตุ การกระทำก็จะเป็นการกระทำที่ดี
ดีแปลว่ามีประสิทธิผล ดีแปลว่ามีประโยชน์ ดีแปลว่าทำให้มีความสุข”

“เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีก แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Sufficient Economy
ใครต่อใครก็ต่อว่า ว่าไม่มี Sufficient Economy แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้
หมายความว่าประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ่มอะล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล
จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง”  
 
   •  พระราชดำรัส เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2546

“เศรษฐกิจพอเพียงที่ก้าวหน้าไม่ใช่เพียงแต่ปลูกพอกินอย่างนั้น มันต้องมีพอที่จะตั้งโรงเรียน
แม้แต่ศิลปะเกิดขึ้น ประเทศชาติถือว่าประเทศไทยเจริญในทุกทาง ไม่หิว มีกิน คือไม่จน มีกิน มีอาหารใจหรืออะไรอื่นๆให้มาก
ความสะดวกอาจจะสามารถสร้างอะไรให้เร็วเกินไป ไม่พอเพียง สำคัญว่าต้องรู้จักขั้นตอน
ถ้าจะทำอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง ต้องให้รู้จักก้าวหน้าโดยไม่ทำให้คนเดือดร้อน

............เรื่องปกครองทั้งด้านวิชาการนั้นก็พอเพียงเหมือนกัน ไม่งั้นจะทำให้เละเทะไปหมด
ที่พูดตะล่อมให้เข้าใจว่าให้พอเพียง ไม่ใช่เศรษฐกิจ เป็นความคิดให้สามารถทำอะไรอยู่ได้” 
 

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view