ก่อนที่คุณจะน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตนั้น
ลำดับแรกคุณต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริงของเศรษฐกิจพอเพียงว่าคืออะไร
ที่มาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
|
|
แต่มีหลายคนยังเข้าใจไขว้เขว คิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือการทำเกษตรทฤษีใหม่ และคิดว่าการเกษตรทฤษีใหม่ คือเศรษฐกิจพอเพียง
แท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกองค์กร
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติก็คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจของตนเอง ต่อไปถึงครอบครัว องค์กร หน่วยงาน ชุมชน ท้องถิ่น
ซึ่งจะส่งผลไปยังเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ในการผลิตและการบริโภคอย่างพออยู่พอกิน
มีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1 ความพอประมาณ
2 ความมีเหตุมีผล
3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
มีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือ
1 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
2 เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน สติปัญญา และแบ่งปัน
โดยรวมก็หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะของตนเอง ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพที่หลากหลาย อย่างมีคุณธรรมในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานขึ้นไป และพัฒนาขึ้นจากรากฐานของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และใช้ภูมิปัญญาของบรรพชนทั้งที่มีอยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงค้นหา คัดสรร และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆมาจากโลกภายนอก
ส่วน"เกษตรทฤษีใหม่"นั้น เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการทำการเกษตรที่เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งพระองค์ทรงวินิจฉัยแล้วว่าการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้เป็นแนวทางที่เกษตรกรควรจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน และถ้าเกษตรกรคนใดได้นำวิธีการนี้ไปปรับใช้ในการทำอาชีพเกษตรกรรม (แม้เพียงบางส่วน ไม่ต้องทั้งหมด) ก็จะทำให้เกษตรกรคนนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ซึ่งนี่ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง